ได้สัมผัสธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมของชุมชนอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการจัดบริการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถใช้เวลาที่พักในท้องถิ่นนั้นศึกษาและเรียนรู้ถึงความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ จึงนับเป็นจุดขายที่มีเสน่ห์
ดึงดูดลูกค้าของธุรกิจโฮมสเตย์เป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับในแต่ละช่วงในรอบ 1 ปีนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ
จะได้รับบริการเสริมในรูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายไม่ซ้ำกันขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลที่ลูกทัวร์
ไปพัก โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น การพาเข้าร่วมกิจกรรมการจับเคย การเลี้ยงปลาในกระชังของ
ชาวเล/ชาวประมง การทำนา การจับปูนา การหาสมุนไพรในป่าละเมาะ การทำปุ๋ยชนิดต่าง ๆ การสอนทำอาหารพื้นเมือง นวดแผนโบราณ/สปาสมุนไพร การเดินป่า การไปส่องสัตว์ ฯลฯ ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ ควรเป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยในท้องถิ่นหรือในพื้นที่นั้น หรือหากไม่ใช่คนในพื้นที่ก็จะต้องมีความรู้
และความเข้าใจวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นจุดเด่นของท้องถิ่นนั้น และได้รับความร่วมมือจากประชาชน
ในพื้นที่เป็นอย่างดี ในการนำมาจัดเป็นกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ให้ชาวต่างประเทศได้ร่วมสัมผัสอย่างใกล้ชิด
และเกิดความประทับใจและ / หรือได้รับความรู้ที่ประทับใจและแปลกใหม่นำไปเล่าสู่กันฟังเมื่อกลับประเทศ
เป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศให้ชาวต่างประเทศได้รับทราบอีกทางหนึ่งด้วย
เงินลงทุน จำนวนเงินลงทุน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานที่และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ (เช่น
มีบ้านพัก สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ อยู่แล้วหรือไม่) และต้องมีเงินทุนจำนวนหนึ่ง
เพื่อการหมุนเวียนใช้จ่ายประจำวันประมาณ 960 – 1,740 บาท / ลูกค้า 1 คน
รายได้ โดยเฉลี่ยจะมีกำไรประมาณ 640 – 1,160 บาท / ลูกค้า 1 คน
ทีมทำงาน ต้องมีผู้ร่วมงานไม่ต่ำกว่า 5 คน เพราะต้องบริการลูกค้าในเรื่องต่าง ๆ
วิธีการดำเนินงาน 1. ปรับและพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่พัก (ทั้งนี้เงินลงทุนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
ความพร้อมของสถานที่) ควรเป็นบ้านพักที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และมีบริเวณ
กว้างขวาง ควรปรับแต่งภูมิทัศน์ในบริเวณใกล้เคียงให้สวยงามเป็นธรรมชาติ
ขั้นตอนต่อไปคือการลงทุนตกแต่งห้อง/บ้านพักให้เหมาะสม เช่น จัดสร้างห้องน้ำ
ให้อยู่ในตัวบ้าน (ถ้ามีสภาพพร้อมใช้ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องสิ้นเปลืองทำใหม่เพียงทำ
ความสะอาดให้น่าใช้เท่านั้น)
2. เครื่องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมถึงการให้บริการในด้านอื่น ๆ
ควรปรับให้เหมาะสมกับท้องถิ่น โดยไม่ควรปรับให้มีความสะดวกสบายมากจน
เกินไปเพื่อคงวิถีชีวิตแบบเดิม ๆ ที่มีเสน่ห์ของท้องถิ่นไว้ ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้
นักท่องเที่ยวหรือลูกทัวร์ ส่วนใหญ่ลำบากจนทนไม่ไหว
3. ประชุมลูกทีมเพื่อจัดเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มธุรกิจและจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยว
ของธุรกิจโฮมสเตย์ ตัวอย่างโปรแกรม :-
- 2 -
3.1 แพ็กเกจ 2 วัน 1 คืน ราคา 1,600 บาท/คน (รวมค่าที่พัก 1 คืน อาหารบุฟเฟ่ต์ 3 มื้อ
โปรแกรมการท่องเที่ยวให้เลือกชมปะการังหรือออกเรือไปไดและตกปลาหมึก)
* ก่อให้รายได้ก่อนหักต้นทุน/ครั้ง 120,000 บาท คำนวณจากจำนวนนักท่องเที่ยว
ที่สามารถรองรับได้ (ประมาณ 75 คน) และมีนักท่องเที่ยวเต็ม
3.2 แพ็กเกจ 3 วัน 2 คืน ราคา 2,900 บาท / คน (รวมค่าที่พัก 2 คืน อาหารบุฟเฟ่ต์
6 มื้อ โปรแกรมท่องเที่ยว 2 อย่างคือ ดำน้ำชมปะการังและไดหรือตกปลาหมึก
* รายได้ ถ้านักท่องเที่ยวเต็มจะมีรายได้ 217,500 บาท ทั้ง 2 แพ็คเกจจะมีบริการ
รถรับ – ส่งถึงท่าเรือเฟอร์รี่
3.3 กรณีต้องการที่พักอย่างเดียว ราคาค่าที่พักประมาณ 300 บาท / คืน / คน
(พร้อมอาหารเช้า)
4. จัดเตรียมพาหนะในการรับ – ส่งนักท่องเที่ยวหรือลูกค้า อุปกรณ์ในการรักษาความ
ปลอดภัย เช่น เสื้อชูชีพ อุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงบริการรักษา
ความปลอดภัยในการเดินทาง
5. ไกด์หรือผู้นำทางพาเที่ยว สามารถอธิบายและตอบข้อซักถามถึงประวัติความเป็นมา
ของสถานที่ที่จะไป รู้จักเส้นทางในการเดินทางเป็นอย่างดี อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับ
การเดินทาง ฯลฯ
การคำนวณรายได้ คิดเฉลี่ยใน 1 เดือน (4 สัปดาห์) ถ้าสามารถรับทัวร์ได้เต็มสัปดาห์ละ 1 ทริป (10 คน)
ทุกสัปดาห์ (4 ทริปต่อเดือน) จะมีรายได้ประมาณ 1 แสนบาท/เดือน เมื่อหักค่าใช้จ่าย
ประมาณ 60% (60,000 บาท) จะได้กำไรประมาณ 40% (40,000 บาท) หรือเฉลี่ยกำไรประมาณ 640 – 1,160บาท / ลูกค้าทัวร์ 1 คน
ข้อเสนอแนะ การทำธุรกิจโฮมสเตย์ไม่ใช่เรื่องง่ายขึ้นอยู่กับความพร้อมในหลาย ๆ ด้านของท้องถิ่น
แม้ในจังหวัดหลายจังหวัดและในพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวหลายแห่งก็อาจ
ไม่สามารถดำเนินธุรกิจโฮมสเตย์ได้ ทั้งนี้ปัญหา/อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่
การขาดเงินลงทุน ประสบการณ์ ความเข้าใจและการเรียนรู้จิตใจของนักท่องเที่ยว
และของบุคลากรในทีม ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหรือเอกชน
ในท้องถิ่น (เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ธกส.) การประชาสัมพันธ์ พื้นที่
ภูมิอากาศความปลอดภัย ฯลฯ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพิจารณาวิธีการแก้ไข
ปัญหาเหล่านนี้ให้แน่ใจก่อนที่จะลงทุนในธุรกิจด้านนี้
กลุ่มเป้าหมาย นักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศ และชาวไทย (มาพักเป็นครอบครัวและแบบพักเดี่ยว)
หน่วยงานให้คำปรึกษา โฮมสเตย์ “เจอพอดี” เป็นโฮมสเตย์แบบชาวเล ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบางเป้า เกาะช้าง
จังหวัดตราด โทร. 0 3950 1103, 0 9936 1848, 0 9936 2321
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น