เครื่องปั้นดินเผา
ประวัติความเป็นมา
ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ค้นพบเศษเครื่องถ้วยชนิดเคลือบในเขต ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง ในปี พ.ศ.2495 ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตร ปริเวณหมู่บ้านป่าตึงและกิ่งย่าแดง และเมื่อมีการสำรวจบริเวณดังกล่าวได้พบในพื้นที่ราบ และขุดเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นโพรงหรืออุโมงค์ ตามเนินเขาหรือริมผั่งแม่น้ำ เตาเผามีจำนวนถึง 83 แห่ง ลักษณะเตาที่พบเป็น การขุดเป็นหลุมแล้วก่ออิฐปิดเป็นผาหลุมข้างบน การเผาใช้ไฟแรงต่ำทำให้ผิวด้านน้ำเคลือบไม่ขึ้นมัน การชุบน้ำยาเคลือบนั้นไม่เคลือบปากและก้นถ้วย เมื่อเวลาเผาใช้วิธีวางปากถ้วยบนปากถ้วยและก้นถ้วยบนก้นถ้วย และปล่อยให้เปลวไฟแล่นผ่านจนน้ำเคลือบละลาย สิ่งที่พบส่วนใหญ่เป็นจาน ชาม ขวด ไห ขนาดต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอายุสมัยราชวงค์มังรายราวรัชสมัยพระจ้าติโลกราชจนสิ้นราชวงค์มังราย (พ.ศ.1984 - พ.ศ.2101) นอกจากนี้ยังค้นพบเครื่องถ้วยในบริเวณเชิงเขาดอยโท้งผาอ่าง ตำบลศรีงาม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณบ้านประตูช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนายจองยี นายคำทร และนายจองคำ ชาวไทยใหญ่มาตั้งเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบสีเชียว (ศิลาดล) ประมาณ 70 ปีมาแล้ว
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา มีขั้นตอนดังนี้
1. วัตถุดิบ
คือ ดินซึ่งได้จากท้องนา การสังเกตดินที่ดี คือ ต้องมีสีดำเป็นมันเลื่อม และหน้าแล้งจะแตก ท้องนาบางแห่งต้องขุดเอาหน้าดินออกก่อนขั้นต่อไปจึงใช้ได้ แต่ที่นาบางแห่งหน้าดินใช้ได้ เมื่อถางหญ้าหรือกอฟางออกแล้วก็ขุดไปใช้ได้เลย การขุดจะทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกเต๋ากว้าง ประมาณด้านละ 4นิ้ว - 9 นิ้ว ดินที่ซื้อขายในอดีตขายเป็นเกวียนประมาณเกวียนละ 25 -30 ก้อน ราคาเกวียนละ 10 บาท ปัจจุบันจำนวนประมาณ 70 ก้อน ราคา 300 บาท
2. การเตรียมดิน
นำดินมาทุบให้ละเอียดใส่ลงเป๊าะ (ตะกร้า) นำไปแช่นี้ในหลุมที่ทำไว้โดยแช่ไว้ 1 คืน ตอนเช้าก็เอามานวดผสมทราย อัตราส่วนประมาณดิน 3 ส่วนต่อทราย 1 ส่วน
3. การขึ้นรูป และการปั้นหม้อดินเผา
วิธีการขึ้นรูปจะกดดินเป็นแผ่นกลมเป็นส่วนก้นหม้อวางบนแป้นไม้ที่ผังแน่นม้อหรือพาชนะที่สูงขนาดแทนตอไม้ได้ แล้วปั้นดินเหนียวให้กลมยาวนำมาวางเป็นวงกลมบนส่วนก้นหม้อ ใช้มือบีบดินวงกลมให้เป็นทรงกระบอกใช้ไม้สำหรับตกแต่งกับมือขึ้นรูปหม้อต่อไป
การขึ้นรูปและปั้นจะวางชิ้นวางไว้บนตอไม้แล้วปั้นโดยการเดินรอบตอไม้ แทนการใช้แป้นหมุน ดังจะลำดับขั้นตอนการปั้นหม้อดินเผาดังนี้
3.1 ก่อปาก
เป็นการขึ้นรูปครั้งแรก ต่อจากการทำก้นหม้อ เป็นรูปแบนวงกลมต่อไปก่อขอบดินกลมยาวที่คลึงให้เป็นลักษณะแท่งนำมาก่อขึ้นรูป ขั้นตอนนี้จะต้องเดินหมุนรอบติไม้แทนแป้นหมุนจะเป็นรูปทรงกระบอก แล้วแต่งให้กลมเรียบมีปากหม้อเพียงส่วนเดียวที่มองเห็นว่าเป็นปกหหม้อดิน ทำลักษณะนี้เหมือนกันทุกใบจนหมด แล้วผึ่งลมไว้ในที่ร่ม
3.2 ไห่ไหล่ปากหม้อ
ให้หินกลมรองข้างในใช้ไม้ตีข้างนอกให้ได้รูปหม้อส่วนบน แล้วตีด้วยไม้ทำลายนำไปผึ่งลม นำกลับมาทำเกลียวลานนูนด้วยดินเส้นกลมนำไปผึ่งลมอีกครั้งหนึ่ง
3.3 ไห่ก้น
ใช้กินรองข้างในใช้ไม้ตีข้างนอกให้ก้นหม้อเป็นรูปกลม ขั้นตอนนี้ถ้าปั้นหม้อต่อม หม้อสาว หม้อแก๋ง หม้อแก๋งแลว หม้อต้น หม้อน้ำป๋อย จะเสร็จสมบูรณ์ในขั้นตอนนี้ แต่ถ้าเป็นการปั้นหม้อน้ำดอก ผึ่งลมต่อไปเพื่อทำขั้นตอนต่อไป คือ ติดส่วนก้น เอาดินติดส่วนก้นทำเป็นฐานสำหรับตั้งหม้อน้ำดอก ก็เสร็จเป็นหม้อดินเผา (หม้อน้ำดอก) 1 ใบ
4. การย้อมสี
ในระยะช่วงประมาณ พ.ศ.2490 - 2500 มีการนำเอาดิน สีแดงมาละลายน้ำแล้วทาหม้อดินให้เป็นสีแดง เพื่อความสวยงาม ปัจจุบันใช้ดินจาอำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งมีสีแดงเข้มอยู่แล้วซึ่งใช้มากกว่าที่อื่น
5. การเผาใช้ลานกว้างบริเวณบ้าน
ก่อนจะเผาจะต้องเอาหม้อดินตากแดดให้ร้อนเสียก่อน หากวันไหนไม่มีแดดก็เผาไม่ได้ ใช้เศษหมอดินเผาที่แตกรองนี้นดิน เอาหม้อดินลงเรียง ซ้อนกันแล้วเอาไม้และฟาง ปกคลุมให้ครอบคลุมหม้อดินเผาให้หมด แล้วคลุมด้วยขี้เถ้าเสร็จแล้วจุดไปตรงขอบที่ติดดินรอบ ๆ กอง
ขอขอบคุณบทความดีๆทางอาชีพ
แหล่งที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/web2001/st05/p1.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น