เปิดผลวิจัย ‘แฟรนไชส์ไทย’ หามาตรฐานคุณภาพเทียบสากล
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ | 18 สิงหาคม 2551 16:23 น. |
| |
ในส่วนแรกผลวิจัยได้นำเสนอภาพโดยรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไทยว่า
1. มีลักษณะพื้นฐานที่แสดงถึงความพร้อมในการขยายธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ เช่น มีรูปแบบการจัดร้านที่เป็นลักษณะเดียวกัน
2. มีการจัดการด้านการตลาดการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สร้างจุดเด่นในธุรกิจ การสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ รวมทั้งการจัดทำระบบแฟรนไชส์มีความมั่นใจต่อตัวระบบเชื่อมั่นว่า ธุรกิจสามารถเติบโตต่อเนื่องได้จริง
3. มองว่าเป้าหมายโครงการการพัฒนาระบบแฟรนไชส์นั้นมีความชัดเจนและมีความเป็นไปได้
โดยชนิดของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยแบ่งเป็น อาหาร 39.1% บริการ 21.1% การศึกษา 11.5% เครื่องดื่ม 11.5% ค้าปลีก 5.7% ความงาม 2.3% อื่นๆ 8%
ขณะ ที่ระยะเวลาของธุรกิจในการก่อตั้ง (ปี) จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อปี 2549 ระบุว่า
แฟรนไชส์ในประเทศแม้จะมีการปิดตัวไปในอัตราค่อนข้างสูง แต่ยังมีธุรกิจที่ดำเนินอยู่ได้ ค่าเฉลี่ยมีอายุทำการมากกว่า 5 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จต่อระบบธุรกิจด้านนี้ และน่าจะเป็นเกณฑ์ด้านหนึ่งในการประเมินระบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสมต่อการลงทุน ทั้งนี้อายุของธุรกิจก็มีผลหรือมีความสัมพันธ์ต่อจำนวนสาขาด้วย เพราะธุรกิจมีการเติบโตในระบบแฟรนไชส์มีโอกาสที่จะขยายสาขาได้มากขึ้น
ส่วนจำนวนสาขานั้น ปัจจุบันพบว่าแฟรนไชส์ไทยมีจำนวนสาขามากกว่า 12 สาขาขึ้นไป และ 77.9% มีร้านต้นแบบที่สมบูรณ์ เพราะเป็นความจำเป็นของธุรกิจที่จะต้องมีร้านที่แสดงถึงธุรกิจและกระบวนการ ต่างๆ ที่ชัดเจน แต่ยังขาดความเป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกันและมีความแตกต่างของรูปแบบร้านแต่ละ สาขา
ด้านความสามารถในการสร้างผลกำไรของธุรกิจพบว่า ยอดขายเฉลี่ยต่อสาขาประมาณ 3 แสนบาทต่อเดือน ขณะที่อัตราผลกำไรนั้นได้แบ่งการวัดเป็นด้าน เช่น อัตรากำไรขั้นต่ำ อัตราเปอร์เซ็นต์ค่าใช้จ่าย อัตรากำไรสุทธิและมูลค่ากำไรเฉลี่ยต่อเดือน
ซึ่งพบว่าธุรกิจส่วนใหญ่มีผลกำไรเพียงพอที่จะขยายธุรกิจต่อเนื่อง โดยมีลักษณะอัตราด้านการทำกำไรของธุรกิจดังนี้ อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ที่ 40-50%
ส่วนยอดเงินกำไรต่อสาขา ในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะเน้นในเรื่องผลตอบแทนของแฟรนไชซีที่คุ้มค่า เพียงพอต่อการลงทุนและมักจะมองตัวเลขกำไรที่เป็นเม็ดเงินต่อเดือนที่เพียงพอ ต่อการดำเนินธุรกิจ โดยคาดการณ์แล้วจะต้องมีเงินกำไรต่อสาขาไม่น้อยกว่า 40,000 บาทต่อเดือน
จากการสำรวจพบว่ามีกำไรเฉลี่ยที่ 112,162.78 บาทต่อเดือนซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน ทั้งนี้ธุรกิจส่วนใหญ่จะมีกำไรระหว่าง 500,000 ถึง 70,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนในร้านประมาณเท่าใด (บาท) พบว่า มีการลงทุนต่อสาขามีมูลค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 2.06 ล้านบาทต่อสาขา ทั้งนี้แฟรนไชส์ในไทยได้แบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ระดับ คือ 50,000 บาทในธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ระดับกลางอยู่ที่ประมาณ 200,000 – 500,000 บาทต่อสาขาและระดับกลางอยู่ที่ประมาณ 200,000 – 500,000 บาทต่อสาขาและขนาดใหญ่จะมีการลงทุนที่ 1- 2.5 ล้านบาทขึ้นไป
ดัง นั้น ผลการวิจัยจึงสรุปว่าทั้งนี้แสดงให้เห็นแนวโน้มการลงทุนของธุรกิจแฟรนไชส์ใน ประเทศไทยมีแนวโน้มการลงทุนสูงขึ้น โดยสามารถเห็นจากข้อมูลการสำรวจจะมีขนาดลงทุนตั้งแต่สองแสนบาทขึ้นไป
ส่วนการเก็บค่าแฟรนไชส์นั้น ปัจจุบันมีการเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้ามากกว่า 60,000 บาท แม้ว่าจากค่าเฉลี่ยการเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าของระบบแฟรนไชส์จะมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 110,662.79 บาท แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละธุรกิจ
ธุรกิจมากกว่า 40% ไม่ได้เก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้าซึ่งเป็นข้อน่าสังเกตในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่ ขัดแย้งกับกระบวนการตามหลักสากล ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ขาดการพัฒนาตัวเองเนื่องจากรายได้ที่ เกิดขึ้นไม่คุ้มค่ากับการพัฒนาธุรกิจต่อเนื่อง
ส่วนค่า Royalty Fee หรือค่าบริหารนั้น ผลตรวจสอบด้านข้อมูลการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบริหารพบว่ามีการจัดเก็บเฉลี่ยที่ 2.13% ซึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไทยมีสัดส่วนมากกว่า 60% ที่ไม่ได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบริหารซึ่งทำให้ระบบธุรกิจขาดเงินหล่อ เลี้ยงการพัฒนาจึงมีปัญหาต่อเนื่อง
ข้อมูลด้านอายุสัญญา (ปี) มากกว่า 3 ปีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 ปี ซึ่งเป็นการให้สัญญาค่อนข้างน้อยเกินไป
อย่าง ไรก็ตามปัจจัยชี้ประสิทธิภาพของธุรกิจแฟรนไชส์ประกอบด้วย 3 ปัจจัยดังนี้ 1. การสร้างกำไรในธุรกิจ (Profitability) การยอมรับในตราสินค้า (Brand) ความพร้อมของรูปแบบร้านค้า (Store Concept)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น